เทคโนโลยีเซนเซอร์เพื่อวัดความสดใหม่ของเนื้อสัตว์

นักเคมีจากสถาบัน MIT ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเซนเซอร์ขนาดพกพาที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก สามารถใช้ ตรวจจับแก๊ส ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากเนื้อสัตว์ที่เริ่มเน่าเสียได้ ซึ่งถือว่าเป็น เทคโนโลยี สมัยใหม่ที่มีประโยชน์อย่างมากกับผู้บริโภคที่จะสามารถตรวจสอบว่าเนื้อที่วางขายอยู่นั้นมีความปลอดภัยต่อการนำมาบริโภคหรือไม่

เซนเซอร์ตัวนี้เป็นให้หลักการการปรับปรุงทางเคมีของ carbon nanotubes และจากการพัฒนานี้อาจจะช่วยผลักดันให้เซนเซอร์นี้กลายเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของ smart packaging ที่จะคอยช่วยแสดงข้อมูลด้านความปลอดภัยที่มากกว่าการแสดงเพียงแค่วันหมดอายุบนบรรจุภัณฑ์เท่านั้น

ตัวเซนเซอร์นั้นจะทำงานคล้ายกับอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ carbon nanotubes อย่างที่เคยพัฒนามาก่อนหน้านี้ ที่ใช้การใช้ตรวจสอบความสุกงอมของผลไม้ซึ่งได้นำหลักการทำงานนี้เป็นหลักการเดียวกัน การปรับเปลี่ยนลักษณะทางเคมีของ carbon nanotubes จะเกี่ยวข้องกับการใช้สารประกอบโลหะที่เรียกว่า metalloporphyrinsเป็นอะตอมและล้อมรอบด้วยไนโตรเจน ส่วนเซนเซอร์ที่ใช้ ตรวจจับแก๊ส ในเนื้อนี้จะใช้โคบอลท์เป็นศูนย์กลางภายในโครงสร้างซึ่งมันสามารถจับกับองค์ประกอบของ ไนโตรเจน ได้ หรือเอมีน (amines) ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Biogenic amines เช่น Putrescine และ Cadaverine ที่เกิดจากการเน่าเสียของเนื้อต่างๆ

MIT-Spoiler-fish-01

เซนเซอร์เพื่อวัดความสดใหม่ของเนื้อสัตว์

เมื่อเซนเซอร์เกิดการสัมผัสกับกลุ่มแก๊สหรือเอมีนเหล่านี้ ก็จะเกิดการเพิ่มขึ้นของการต้านทานไฟฟ้าของ carbon nanotubes ซึ่งนั่นทำให้ตรวจวัดได้ง่าย และเอมีนก็เป็นเป้าหมายหลักในการตรวจสอบของเซนเซอร์นี้

งานวิจัยนี้ได้เริ่มทดสอบกับเนื้อต่างๆ คือ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา และแซลมอน ผลที่ได้จากการใช้ เซนเซอร์ คือ เมื่อเนื้อทั้ง 4 ชนิดอยู่ในตู้เย็นจะมีความสดได้ราวๆ 4 วัน ส่วนเนื้อชนิดเดียวกันที่ไม่ได้แช่เย็นพบว่ามีการเน่าเสียทั้งหมด แต่ในอัตราที่แตกต่างกัน คาดกันว่าเซนเซอร์ชนิดนี้นี้จะถูนำไปใช้อย่างกว้างขวางอย่างแน่นอนเนื่องจากมีราคาถูก และยังสามารถช่วยตรวจสอบความสดของเนื้อได้ดี และแสดงผลแบบเรียลไทม์อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาจากอาการเจ็บป่วยของผู้บริโภคที่เกิดจากอาหาร และช่วยลดการเน่าเสียของเนื้อที่เก็บไว้ในคลังต่างๆ ส่วนการรายงานผลนั้นก็เป็นการส่งข้อมูลสู่ สมาร์ทโฟน ของผู้ตรวจสอบ นั่นทำให้เซนเซอร์นี้ยังต้องใช้พลังงานอยู่ซึ่งยังต้องพัฒนาในส่วนนี้ต่อไปเพื่อนำไปใช้งานได้อย่างจริงจังในอนาคต

Leave a comment

Your email address will not be published.


*