นาโนเทคโนโลยีช่วยแก้การดื้อยาของเซลล์มะเร็ง

การบำบัดรักษาด้วยเคมีหรือที่เรียกกันว่าคีโมมักจะทำลายเนื้องอกได้ดีในครั้งแรก แต่ เซลล์มะเร็ง จะกลับมาเติบโตอีกครั้งด้วยกับอาการดื้อยาที่ใช้รักษา แต่ด้วยอุปกรณ์ นาโน ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากสถาบัน MIT จะช่วยให้เราสามารถเอาชนะมะเร็งได้ โดยการเข้าไปยับยั้งการทำงานของยีนที่ทำให้เกิดการดื้อยา แล้วจู่โจมด้วยเคมีบำบัดอีกครั้งเพื่อทำลายเนื้องอกได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

51020

อนุภาคนาโน ของทองคำฝังอยู่ในสารไฮโดรเจล

โดยเจ้าอุปกรณ์นี้ประกอบด้วย อนุภาคนาโน ของทองคำฝังอยู่ในสารไฮโดรเจลที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่สามารถฉีดหรือฝังเข้าไปที่เนื้องอกได้ นอกจากนี้ยังสามารถจะใช้กับยีนตัวอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมอาการดื้อยาของมะเร็งได้

Natalie Artzi นัก วิทยาศาสตร์ และนักวิจัยที่สถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมการแพทย์ (IMES) ของ MIT และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด บอกว่าคุณสามารถกำหนดยีนเป้าหมายและส่งยาเข้าไปโดยตรง

ในการสาธิตประสิทธิภาพของวิธีการใหม่นี้ Artzi และทีมงานได้ใช้ เครื่องมือ ทำการทดลองกับหนูในการการปลูกถ่ายเนื้องอกชนิดเดียวกับของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า มะเร็งเต้านมชนิดไตรโลปะ (Triple negative breast cancer) ซึ่งปกติแล้วการรักษามะเร็งจะบกพร่องในการกำจัด Estrogen receptor, Progesterone receptor, Her2 แต่อุปกรณ์ใหม่นี้จะยับยั้งการทำงานของโปรตีนที่ขับยาออกจาก เซลล์มะเร็ง (MRP1) จากนั้นจึงส่งเคมีบำบัดยา 5-fluorouracil  (5-FU) เข้าไปและผลลัพธ์ออกมาสามารถทำให้เนื้องอกหดตัวลงได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 2 สัปดาห์

MRP1 เป็นหนึ่งในหลายยีนที่ช่วยให้เซลล์มะเร็งนั้นต่อต้านยาจากเคมีบำบัด  โดยโปรตีน MRP1 จะทำหน้าที่เหมือนกับปั้ม ที่ช่วยขับยาฆ่ามะเร็งออกจากเซลล์มะเร็ง จึงทำให้ยาหลายชนิด อย่าง 5-fluorouracil และ Doxorubicin นั้นไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา

ดร. João Conde จาก IMES และเป็นนักเขียนของวารสารการแพทย์ PNAS paper บอกว่า การดื้อยานั้นเป็นปัญหาใหญ่ในการรักษาโรค มะเร็ง ในหลายกรณีนั้นไร้ประสิทธิภาพอย่างมาก

และในการเอาชนะนี้ นักวิจัยได้สร้างอนุภาคนาโนของทองคำที่เข้าไปเคลือบสายลำดับการเข้าคู่กันของ DNA โปรตีน MRP1 mRNA และปล่อย 5-fluorouracil จากนั้นอุปกรณ์จะแผ่ฟลูออเรสเซนต์ในความยาวคลื่นที่หลากหลาย ช่วยให้นักวิจัยมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเซลล์ เนื่องจากอนุภาคนั้นใช้ในการวินิจฉัยเฉพาะที่ในยีนเป้าหมายในเซลล์มะเร็งได้

nrclinonc.2010.136-f2

5 fluorouracil

DNA เคลือบด้วย อนุภาคนาโนทองคำ จะฝังอยู่ในเจลซึ่งอยู่ในที่ของมัน จะไปเคลือบเนื้องอกหลังจากการฝังเข้าไปแล้ว ตัวยาจะได้รับการปกป้องจากการย่อยสลายได้ดีกว่าการให้ยากระจายไปทั่วร่างกาย และปล่อยตัวยาได้ตรงจุดต่อเนื่องยาวนาน จากการศึกษาทดลองกับหนู นักวิจัยพบว่าอนุภาคนั้นสามารถยับยั้ง MRP1 ได้เป็นเวลา 1 – 2 สัปดาห์ และสามารถปล่อยตัวยาออกมาได้ตลอดเวลา ทำให้เนื้องอกนั้นหดตัวลงอย่างมาก และวิธีการนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งยาอื่นๆ หรือกระทำต่อยีนเป้าหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งได้อีก

ที่มา: http://www.nanotech-now.com/news.cgi?story_id=51020

Leave a comment

Your email address will not be published.


*