แล็บวิจัยนาโนเทคโนโลยี ที่มีเครื่องมือดีที่สุดในโลก
Minnesota Nano Center แล็บวิจัย นาโนเทคโนโลยี ที่มีเครื่องมือที่ดีที่สุดในโลก
ณ อาคารปฏิบัติการแห่งใหม่ขนาด 5,000 ตารางฟุต ของมหาวิทยาลัยมินนิโซตา นักวิทยาศาสตร์กำลังทำงานกับหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กจิ๋วจนสามารถฉีดเข้าไปในดวงตาและกลับออกมาในกับน้ำตาได้ ซึ่งแล็บนี้ในเงินทุนสร้างกว่า 84.5 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.74 พันล้านบาท สำหรับใช้เป็นที่ปฏิบัติการของแผนกฟิสิกส์และ นาโนเทคโนโลยี ซึ่งใกล้จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้
“ไอเดียง่ายๆ คือการทำสิ่งที่เล็กมาก” Steve Campbell ผู้อำนวยการของศูนย์ Nano Center อธิบาย “โดยเครื่องมือรุ่นใหม่ล่าสุดจะดึงดูดนักวิจัยทั่วประเทศ ทั้งจากสถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชน” และ “นี่คืออุปกรณ์ที่ดีที่สุดในโลก” Campbell บอกกับสื่อระหว่างนำชมอาคาร
นาโนเทคโนโลยี เป็นสายงานที่กำลังเติบโต ที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่ามันจะเปลี่ยนแปลงวิธีการบำบัดรักษาและสายงานอื่นอีกหลายสาขา ตัวอย่างเช่นหุ่นยนต์จิ๋วที่สามารถโปรแกรมคำสั่งให้ส่งยาเข้าไปในดวงตาที่เป็นโรค หรืออนุภาคขนาดเล็กที่ส่งเข้าไปยังเซลแต่ละเซลได้โดยตรง เพื่อตรวจจับและรักษามะเร็ง
ในห้องแล็บใหม่นี้ นักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิคที่เข้าไปจะต้องสวมชุดคลุมสีฟ้าอย่างมิดชิดตั้งแต่หัวจรดเท้า โดยต้องผ่านเข้าห้อง“Clean Rooms” เทคโนโลยีสูง ซึ่งเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง Campbell บอกว่า อุปกรณ์มีความละเอียดอ่อนมากจนเรากังวลเกี่ยวกับแรงสั่นสะเทือนจากเส้นทางรถไฟใหม่ แต่ระวังเบื้องต้นด้วยกับใช้คอนกรีตหนาพิเศษซึ่งดูเหมือนจะป้องกันได้ดี
อาคาร Minnesota Nano Center ได้ถูกออกแบบให้พื้นที่วิจัยสำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลับและคณาจารย์กว่า 200 คน มันตั้งอยู่ที่ถนนวอชิงตัน ซึ่งเต็มไปด้วยแสงธรรมชาติและจุดแสดงงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากฟิสิกส์ อย่างรูปหล่อโลหะผู้ชายและผู้หญิงนั่งคุกเข่าหากันสองชิ้นที่หน้าทางเข้า
ศิลปินผู้สร้างสรรค์คือ Julian Voss-Andreae นักฟิสิกส์ผู้ผันตัวมาทำงานศิลปะ เค้าใช้แผ่นโลหะมันวาวกว่า 150 ชิ้น มาประกอบกัน ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นรูปร่างคนหากมองจากด้านข้างและมุมเฉียง และจะหายไปเมื่อมองตรงจากด้านหน้า ศาสตราจารย์ Ron Poling หัวหน้านักแผนกฟิสิกส์และดาราศาสตร์บอกว่า “คุณไม่สามารถชื่นชมมันได้จากเพียงมุมเดียวจริงๆ
Minnesota Nano Center อาคารปฏิบัติการสำหรับนักวิจัย นาโนเทคโนโลยี ใหม่ที่เต็มไปด้วยเครื่องมือล้ำสมัยนี้จะเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมได้ในเวลา 11 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม
ที่มา:
http://www.startribune.com/local/minneapolis/256461991.html
http://www.nfc.umn.edu/
http://julianvossandreae.com/works/spannungsfeld/
Leave a comment