พิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำ นาโน
หลายคนอาจจะเคยเลี้ยงปลาเลี้ยงพืชน้ำมาบ้าง ? หรือบางท่านที่อาจจะไม่เคยเลี้ยงสัตว์น้ำเลยก็ตาม การหางานอดิเรกอย่างการสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดเล็กประมาณ 30 แกลลอน (136.38 ลิตร ) หรือน้อยกว่า ก็น่าเป็นหัวข้องานอดิเรกที่น่าสนใจ การสร้างพิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำ นาโน หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก ผู้เขียนคิดว่ามันน่าจะให้ประโยชน์แลกกับความเหนื่อยนิดหน่อยได้อย่างคุ้มค่านะคะ จัดว่าเป็นมุมพักผ่อนสายตาได้อีกหนึ่งสถานที่ ไม่ว่าจะนำไปตั้งตรงไหน เช่น ที่บ้าน ในสำนักงาน ก็ทำได้ไม่ยาก มันน่าสนใจมากๆเลยค่ะ แล้วทีนี้ เราจะพิจารณาอะไรบ้าง ในการจัดแต่งตู้พิพิธพันธุ์อันนี้ ลองมาดูคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลสัตว์เลี้ยงจากเนเธอร์แลนด์ Drs. Foster และ Drs.Smith พวกเขาแนะนำหลักในการพิจารณาในการสร้างพิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำ นาโน ไว้ ดังนี้
พิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำ นาโนของเรา ไม่ว่าจะเป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็ม ที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำในตู้ขนาดเล็ก เราจะต้องระวังเรื่อคุณภาพน้ำเป็นพิเศษ ทั้งอุณหภูมิ และประเภทสิ่งมีชีวิตที่เราจะนำมันมาไว้รวมอยู่ด้วยกันในพิพิธภัณฑ์ เหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่จริงๆมันก็ไม่ได้ยุ่งยากเกินความสามารถเราหรอกนะคะ เพื่อสร้างบรรยากาศให้กับมุมต่างๆในที่ๆเราอยู่ เรามาเริ่มเรียนรู้วิธีในการสร้างมัน กันเลยดีกว่านะคะ
1.เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้เหมาะสม – เครื่องมือที่สำคัญสำหรับการสำรวจตรวจสอบคุณภาพน้ำในพิพิธพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็กของเรานั้น คือ แผ่นกรองสิ่งสกปรกในน้ำ และ แสงสีต่างๆที่เราจะใช้จัดตู้ให้ดูสวยงาม โดยเราอาจจะต้องใช้ตัวตรวจวัดอุณหภูมิหรือตัวทำความร้อนอย่าง heater ในการดูแลและปรับอุณหภูมิของน้ำให้เหมาะสม และอีกสิ่งสำคัญที่สุด นั่นคือตู้ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ธรรมดาหรืออาจจะเป็นตู้ที่มีลักษณะยาวมากๆให้เห็นทัศนียภาพได้เหมือนลักษณะของภาพพาราโนมา
2.ใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาด – ก่อนที่เราจะนำตู้ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก นี้ ไปวางบนโต๊ะ ขึ้นชื่อว่าขนาดเล็กก็จริง น้ำหนักก็คงไม่มากไม่มายแน่ๆ ก็อาจจะจริงนะคะ เมื่อเทียบกับตู้ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่ แต่ยังไงเสียแล้วก่อนที่คุณจะนำตู้ไปวางบนโต๊ะก็อย่าลืมบวกน้ำหนักของน้ำที่เราจะใส่ไปในตู้ด้วยนะคะ สำหรับตู้ขนาดเล็ก เมื่อใส่น้ำเข้าไปแล้วก็น่าจะหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ยังไงก็ต้องหาโต๊ะที่รับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม แล้วก็อย่าลืมคำนึงถึงความชื้นของสภาพแวดล้อมด้วยนะคะ
3.เลือกสิ่งมีชีวิตที่จะนำมาจัดไว้ในพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมของเราให้เหมาะสม – การให้ความสำคัญกับวิวทิวทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำ นาโนตามที่เราต้องการนั้น เราจะต้องจัดพืชน้ำหรือตัวปลาเล็กปลาน้อยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันได้อย่างเหมาะสม โดยหลักๆแล้วเราต้องศึกษาถึงอุณหภูมิความชื้นหรือพารามิเตอร์อื่นๆของสภาพน้ำที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตที่เราจะนำมันมาเลี้ยงไว้รวมกันไว้ในพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมของเรา นอกจากนี้เราจะต้องศึกษาลักษณะของสิ่งมีชีวิตขนาดนาดนาโนที่เราจะเอามาเลี้ยงว่ามันต้องการที่อยู่แบบไหน มีการผสมพันธุ์หรือขยายพันธุ์อย่างไร เช่น ปลาบางตัวอาจจะชอบอยู่ในที่โล่ง บางตัวอาจจะชอบอยู่ในที่แคบๆ บางตัวต้องการที่หลบภัยดีๆเพื่อให้ปลามันรู้สึกปลอดภัย และเกิดความเครียดน้อยที่สุด
4.ห้ามใช้พวกหินหรือสิ่งประดับในตู้ที่ใหญ่เกินไป – หลีกเลี่ยงการประดับตกแต่งที่มากเกินไป เพราะมันจะทำให้เราดูแลคุณภาพน้ำได้ยากมากขึ้นนั่นเอง ถ้าเราจัดสรรพื้นที่คับแคบมากเกินไปในตอนแรกโดยไม่คำนึงถึงว่า ในระยะเวลาเพียงไม่นาน ลูกปลาเล็กปลาน้อยก็จะกำเนิดออกมาแล้ว จะทำให้สภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้นไม่เหมาะสม ดังนั้นการใช้ของประดับตกแต่งหรือกระทั่งการปลูกพืชน้ำ เราก็ต้องเตรียมพื้นที่เหลือไว้ให้สิ่งมีชีวิตนานาโนอย่างปลาเล็กปลาน้อยได้มีที่ว่ายที่อยู่อาศัย
5.อย่าลืมระบบกรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำในพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมของเรา – เพื่อสุขภาพที่ดีของสัตว์น้ำ นาโนในพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมของเรา เราจะต้องใส่ระบบการกรองสิ่งสกปรกจากธรรมชาติ เช่น พืชน้ำบางชนิด หิน ทราย หรือผลึกบางตัว ลงไปด้วย
6.เราต้องจัดแสงสว่างอย่างเพียงพอให้แก่พืชน้ำ – เนื่องจากสถานที่ในการตั้งพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมของเราไม่ได้อยู่ในกลางแจ้ง ซึ่งอาจทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการพลังงานแสง อย่างเช่น พืชน้ำบางชนิด ในการติดตั้งนั้นทำได้ง่าย ส่วนใหญ่เราก็จะเห็นว่า หลายๆคนนิยมติดหลอดไฟไว้บนตู้กระจก ดังภาพ
7.หมั่นสังเกตพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมของเราทุกวัน – เนื่องจากสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะสัตว์น้ำนาโนในตู้นั้นมีวงจรชีวิตไม่ยาวนานทั้งปริมาณน้ำในตู้ก็มีไม่มาก ทำให้วงจรคุณภาพน้ำนั้น มันมีเวลาสั้น ทั้งด้วยพฤติกรรมของ สัตว์น้ำนาโนบางชนิดที่มันชอบอ้าปากค้าง ชอบหลับซุกซ่อนที่นั่นที่นี่ ชอบเคลื่อนไหวเร็วๆตลอดเวลา ก็มีส่วนทำให้พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมของเรามีคุณภาพน้ำลดถอยลงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราต้องสังเกตมันอย่างน้อยวันละครั้งนะคะ แต่กระนั้นการแค่เพียงสังเกตก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการดูแลพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมของเรา เราอาจจะต้องใช้เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำต่างๆ เพื่อใช้วัดในสิ่งที่เราไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้ อย่างเช่น ปริมาณไนเตรท ไนไตร หรือค่าความเป็นกรด-ด่าง ในน้ำ เป็นต้น
8.หมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมของเราทุกอาทิตย์ – ในธรรมชาตินั้นน้ำที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จะถูกเปลี่ยนถ่ายไปโดยน้ำฝนซึ่งจะช่วยเจือจางสารพิษตกค้างก่อนที่จะมีปริมาณเกินที่สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติจะยอมรับได้ ดังนั้น ในกรณีของเราที่เราจำลองเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมซึ่งอยู่ในที่ร่ม เราก็ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเอง ด้วยปริมาณและจำนวนครั้งที่เหมาะสม นั่นคือ เปลี่ยนเพียง 10-20 เปอร์เซ็นของน้ำภายในตู้ก็พอ ทำแบบนี้เพียงอาทิตย์ละครั้งก็พอ
9.อย่าลืมดูแลการเจริญเติบโตของพืชน้ำ – พยายามหลีกเลี่ยงการเพาะสาหร่ายน้ำเป็นดีที่สุด เนื่องจากมันแพร่พันธุ์ไว ทำให้กินพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมของเรา อาจจะทำให้ปลามันเครียดก็เป็นได้ และในพืชน้ำบางชนิดหากมันแพร่พันธุ์มากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อสภาพน้ำได้ ห้ามเพิกเฉยเป็นอันขาด
10.เมื่อเจอสิ่งใดผิดสังเกตให้รีบแก้ไขทันที – เราอาจจะคิดว่าบางสิ่งที่ผิดสังเกตุเพียงเล็กน้อยอาจจะไม่สำคัญแต่แท้ที่จริงแล้วสิ่งมีชีวิตในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมของเรานั้นอ่อนไหวมาก เนื่องจากมันมีขนาดเล็ก เมื่อเทียบขนาดตัวเราก็ต่างกันหลายเท่าแล้ว ไอ้สิ่งที่เราสังเกตถึงความผิดปกติเล็กๆตามที่เราอาจจะประมาณไว้นั้น มันอาจไม่เป็นไปตามที่เราคิดหรอกนะคะ ปัญหาเล็กของเราแต่ในโลกของนาโนแล้วมันคงเป็นปัญหาใหญ่มาก ดังนั้น เมื่อเราสำรวจหรือสังเกตุพบ เราก็ควรจะแก้ไขทันที เห็นไหมคะ ความอยู่ดีมีสุขของสิ่งมีชีวิตภายในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนขนาดย่อมนี้ ขึ้นอยู่กับมือเราแท้ๆ เมื่อท่านใดตัดสินใจจะสร้างมันขึ้นมาแล้ว เพื่อให้บรรยากาศของเรามีชีวิตชีวา ยังไงก็อย่าได้ปล่อยทิ้งสิ่งมีชีวิตพวกนี้นะคะ
ขนาดตู้พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนาโนนั้น มี 3 ขนาด ( ดังรูปประกอบด้านขวา ) ได้แก่
1.ความจุ 3 แกลลอน
2.ความจุ 6-12 แกลลอน
3.ความจุ 24-28 แกลลอน
Leave a comment